วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

Superman : Nietzsche


Superman : Nietzsche

“อภิมนุษย์ The Superman” ด้วยเจตจำนงสู่อำนาจ นำไปสู่แนวคิดว่าด้วย “อภิมนุษย์ The Superman” เขาชี้ให้เห็นว่าศีลธรรมเป็นตัวกำหนดสถานภาพของคน เขาปฏิเสธความคิดเรื่อง ความเสมอภาค (equality) เพราะคนส่วนใหญ่เป็น “พวกอยู่เป็นฝูง the common herd” ไม่มีสติปัญญาเพียงพอที่จะไขว่คว้าถึงจุดสูงสุดแห่ง “จิตวิญญาณเสรี free spirits” ได้ ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ดีรวม the common good” คนระดับ “อภิมนุษย์” จึงหายาก แต่ในวิวัฒนาการขั้นต่อไปของมนุษยชาติจะบังเกิด บุคคลพิเศษ เหนือมนุษย์ทั่วไปที่เรียกว่า “อภิมนุษย์” ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของวิวัฒนาการของมนุษยชาติ (Superman is goal.) หมายถึง ผู้ทรงอำนาจที่ยิ่งใหญ่ภายในอย่างสูงส่ง จึงจะก้าวผ่านเข้าสู่วิวัฒนาการขั้น “อภิมนุษย์” ได้เป็นมนุษย์ผู้พร้อมถึงการบรรลุถึงสุดยอดความแกร่งกล้าแห่งกาย ภูมิปัญญา และอารมณ์ “ผู้เป็นอภิมนุษย์จึงเป็นมนุษย์ผู้เป็นอิสระอย่างแท้จริง” ทั้งนี้เพราะเขาเป็นผู้ที่ไม่มีสิ่งใด ๆ จะมาทำให้เกิดอุปสรรคที่ก่อข้อยกเว้นได้ด้วยพลังสูงสุดแห่งเจตจำนงสู่อำนาจของเขา เขาคือ ผู้ทรงพลังแห่งชีวิตอย่างบริบูรณ์
องค์ประกอบของการจะเป็นยอดมนุษย์ คือ การพัฒนามนุษย์ไปสู่ยอดมนุษย์ ที่มีกำลัง พลังที่แข็งแกร่ง มีอำนาจ ปกครอง (Will to power) ดังนั้น การอบรมอย่างเข้มงวดซึ่งความสมบูรณ์แบบจะต้องมีลักษณะแน่นอนตายตัว
พลังปัญญา และความภาคภูมิ คือสิ่งที่สร้างยอดมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ต้องประสานอย่างกลมกลืน เพื่อให้สิ่งที่ดีที่สุด
ระบบอภิชนาธิปไตยเป็นทางสายที่จะนำไปสู่การเป็นยอดมนุษย์ ซึ่งเป็นการปกครองที่เป็นการปกครองในรัฐในอุดมคติของพลาโต้ ที่มีความสมบูรณ์แบบ เพราะการสร้างและปลูกฝังรูปแบบของมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ เป็นการทำให้มนุษย์มีความสุขในสิ่งที่ทำและเป็นอยู่ ด้วยการมีสติปัญญา พลัง ร่างกายที่สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ นิทเช่มีทัศนะที่ต้องการมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์แบบ ดังนั้น การจะมีความสมบูรณ์แบบต้องมีอิสระ เสรีภาพ ในการทำสิ่งต่าง ๆ เพราะยอดมนุษย์ หรือ อภิมนุษย์ ต้องมีความสมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน ศีลธรรมจึงไม่ได้มีความเมตตา

เท่านั้น แต่อยู่ที่กำลัง ความพยายามของมนุษย์จึงไม่ได้เป็นการยกระดับคนทั้งหมด หากแต่เป็นการพัฒนาบุคคลให้แข็งแรงกว่าและมีคุณสมบัติที่ดีกว่า “เป้าหมายมิใช่มนุษยชาติ แต่เป็นยอดมนุษย์ สิ่งสุดท้ายที่บุคคลซึ่งมีสติสัมปชัญญะ จะทำคือการปรับปรุงมนุษยชาติ มนุษยชาติมิได้ดีขึ้น มันมิได้มีตัวตนอยู่ด้วยซ้ำไป มันเป็นเพียงนามธรรม สิ่งที่มีอยู่คือบุคคลแต่ละคนซึ่งคลาคล่ำไปหมด รูปหนึ่งของส่วนทั้งหมดนั้นคล้ายกับโรงงานทดลองขนาดใหญ่ซึ่งบางสิ่งในทุกยุคสืบต่อกันมาในขณะที่ส่วนใหญ่ล้มเหลว และเป้าหมายของการทดลองทั้งมวลมิใช่ความดีของมวลชน หากแต่เป็นการพัฒนาแบบอย่างของมนุษย์ ให้สังคมสิ้นสุดลงจะดีเสียกว่าการปราศจากคนระดับสูง สังคมเป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมอำนาจและบุคลิกภาพของเป้าหมาย
มนุษย์สามารถยกระดับของตนเองให้สูงกว่าสัตว์และได้บรรลุถึงศักดิ์ศรีอันเป็นเอกซึ่งนักปรัชญาทั้งหลายในอดีตพิจารณาแล้วว่าเป็นสิทธิของมนุษย์มาแต่แรกเกิด
นีทเช่ มีความเชื่อว่า อภิมนุษย์ หรือ บุคคลผู้มีอำนาจสูงสุด ได้มีมาแล้วในอดีต เช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู พระโมฮัมหมัด จนถึงปัจจุบัน เช่น โกเต นักปราชญ์ชาวเยอรมัน จุดมุ่งหมายในการเกิดขึ้นของอภิมนุษย์ก็เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์และความสุขของมวลชน ดังนั้นอภิมนุษย์จะมีความพร้อมเสมอในการพบกับอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะดีหรือเลว ก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้
บทวิจารณ์
ยอดมนุษย์ไม่ได้อยู่เหนือความดีและความชั่ว
- นีทเช่ ได้อธิบายว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจอันแข็งแรงเท่านั้นจึงสามารถเข้าถึงฐานะแห่งยอดมนุษย์ได้ ไม่ว่าเขาจะทำอะไร เราจะเชื่อว่า เขาอยู่เหนือความดี ความชั่วหรือ
- นีทเช่ เชื่อว่า ยอดมนุษย์ วิวัฒนาการมาจากคนธรรมดา กฎทางศีลธรรมเกิดจากการตีความหมายเรื่องปรากฎการณ์เท่านั้น ดังนั้นแล้ว เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า อะไรเป็นมาตรการตัดสินความดี ความชั่ว ในเมื่อ การตัดสินทางศีลธรรมต้องเป็นกฎสากล มนุษย์คนใดคนหนึ่งไม่สามารถลบล้างกฎทางศีลธรรมได้


- ตามทัศนะของนีทเช่ การพัฒนามนุษยชาติจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าปราศจากการตื่นตัวในการแสวงหาอำนาจและการปกครอง ตลอดจนถึงการกำหนดให้มีคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความเมตตากรุณา ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นต้น ดังนั้น หน้าที่อันสูงสุดของมนุษย์คือการมีอำนาจ เป็นยอดมนุษย์ จึงได้พัฒนาอำนาจทั้งหมดของเขาไปตามลำดับและเขาก็มีความประพฤติเหมือนกันกับคนทั่วไป ความรักในการต่อสู้และเสี่ยงภัยในการแสวงหาอำนาจเหตุผล ความกล้าหาญและความภูมิใจเป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกันของเขา
ความคิดเห็นของนักศึกษา
การที่จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่เหนือกฎทางศีลธรรมนั้น เป็นการได้ยาก เพราะไม่มีบุคคลใดจะเป็นมาตรการตัดสินความประพฤติ แนวความคิดของนีทเช่ส่งผลดีในแง่ของการมีเป้าหมายในการพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์แบบ ต้องการให้มนุษย์มีคุณธรรมทั้งครบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อการสร้างสังคมในอุดมคติ เป็นการสร้างบุคคลเพื่อให้สังคมน่าอยู่ แต่นีทเช่ปฏิเสธพระเจ้า และ การนับถือศาสนาว่าเป็นการทำให้มนุษย์ขาดเสรีภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างที่ใจต้องการได้
มนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งครบจะทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่มีกฎทางศีลธรรม เพราะมัวแต่คิดว่าการกระทำของตนเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ในเรื่องนี้ทำให้ยอดมนุษย์เป็นเรื่องแปลกสำหรับความคิดของคนทั่วไป
การมีพลัง สติปัญญา ร่างกายที่แข็งแรง เป็นการกล้าที่จะใช้เหตุผล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการสร้างสรรค์แนวความคิดในวิวัฒนาการปัจจุบัน ทำให้มนุษย์ได้เรียนรู้แนวความคิดแบบใหม่ ๆ จากนีทเช่ อำนาจที่ได้มาก็ควรให้มีขอบเขต และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีความสุขในการมีอำนาจ
หนังสือประกอบรายงาน
วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม.ปรัชญา 101 : กระแสคิดที่ทรงอิทธิพล.กรุงเทพฯ : ชีวาภิวัฒน์, 2547, พิมพ์ครั้งที่ 2
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์.ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย 1 .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2522
Will Durant, The Story of Philosophy : The live and Opinion of the Greater Philosophers, Time Inc. Division,1926.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ment หน่อยก็ดี